ประเพณีภาคใต้
ประเพณีชักพระ
เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวใต้ ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญในวันออก
เชื่อกันว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้น
ดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดาพรรษา ตรงกับ วันแรม 1 ค่ำเดือน 11
ประเพณีแข่งขันตีโพน จังหวัดพัทลุง
ประเพณีแข่งขันตีโพน จังหวัดพัทลุง “หลังประดิดประดอยโพนพร้อมสำหรับการประชันแล้ว เสียงโพนจึงดังกึกก้อง สร้างความครึกครื้น รื่นเริง ในงานประเพณีแข่งขันตีโพน เครื่องดนตรีพื้นบ้านซึ่งอยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนเมืองลุง ด้วยเสียงอันทุ้มแหลมกังวาน เกิดเป็นคำกล่าวที่ว่า จะร้อยพันแม้นหมื่นเสียงตะโกน ฤาจะสู้เสียงแข่งโพนที่เมืองลุง” โพน ชื่อเรียกเครื่องดนตรีพื้นบ้านของชาวปักษ์ใต้ เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของคนในอดีต ใช้บอกเหตุร้ายเวลากลางคืน บ้างใช้สำหรับเรียกประชุมหมู่บ้าน เป็นสัญญาณเมื่อถึงเวลาฉันอาหาร รวมทั้งใช้เป็นจังหวะในงานประเพณีลากพระ พัฒนาสู่ประเพณีการแข่งขันตีโพยด้วยในวันงานลากพระ วัดในละแวกเดียวกันต่างจัดงานกันยิ่งใหญ่ เสียงโพนจึงดังกึกก้องจนไม่สามารถแยกได้ว่าเสียงนั้นดังมาจากวัดไหน นำสู่การแข่งขันประชันเสียงโพน โดยเฉพาะในจังหวัดพัทลุงจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในทุกๆ ปี ประเพณีแข่งขันตีโพนจะเริ่มตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิบจนถึงวันแรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ด จัดควบคู่ไปกับประเพณีลากพระในวันออกพรรษา ก่อนถึงวันแข่งขัน เหล่านักตีโพนต่างขะมักเขม้นกับการประดิษฐ์เพื่อให้ได้โพนที่เสียงดีที่สุด
การแข่งขันว่าวประเพณี จังหวัดสตูล
“ฤดูแห่งลมว่าวพัดมาถึงอีกครั้ง ท้องฟ้าจึงถูกประดับประดาด้วยว่าวนานาชาติ หนึ่งในนั้นคือว่าวควาย ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านสู่เอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นของว่าวเมืองสตูล ประชันความงามล่องเวหาไปพร้อมๆ กันกับว่าวนานาชาติ เพียงเงยหน้ามองท้องฟ้าจนสุดสายป่าน คุณก็ไม่อาจละสายตา และเพลิดเพลินไปกับงานแข่งขันว่าวประเพณี ณ จังหวัดสตูล” ต้นข้าวขณะออกรวงเรียว ผ่านพ้นช่วงฝนตกหนักสู้ฤดูหนาวต้นปี รวงข้างเอนกระทบกันเสียงกระซิบของท้องทุ่ง ตามด้วยสายลมที่พัดผ่านมาเป็นสัญญาณเปลี่ยนฤดูกาล ขณะรอเก็บเกี่ยวผลผลิต เหล่านักประดิษฐ์ต่างนำว่าวตัวเก่งมาล่องลม ในช่วงเวลาดังกล่าวของทุกปีท้องฟ้าเมืองสตูลจึงเต็มไปด้วยว่าวหลากชนิดที่บรรดาเด็กๆ คนหนุ่มสาว ต่างออกลีลาวาดลวดลายประชันฝีมือในการบังคับว่าวอย่างรื่นเริง การเรียนรู้อยู่ร่วมกันตามวิถีของธรรมชาติ ทำให้การนำว่าวมาใช้ประโยชน์ในการสร้างความบันเทิงพัฒนารูปแบบเรื่อยมา ทั้งในประเทศไทยรวมทั้งว่าวจากนานาชาติ จนเริ่มมีการแข่งขัน คนต่างชาติ ต่างภาษา ต่างภูมิประเทศ จึงมีโอกาสพบเห็นว่าวรูปทรงแปลกและแตกต่างกัน นั่นรวมถึงว่าวควายที่เป็นเสมือนสัญลักษณ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของสตูล
ประเพณีตักบาตรธูปเทียน
ประเพณีตักบาตรธูปเทียนคือการถวายธูปเทียนแด่พระสงฆ์ ซึ่งประเพณีตักบาตรธูปเทียนถือเป็นส่วนหนึ่งของการถวายสังฆทานในวันเข้าพรรษา ช่วงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งการตักบาตรธูปเทียนจะมีขึ้นที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราชเพียงแห่งเดียว แต่ปรากฏว่าเครื่องสังฆทานที่ชาวบ้านนำมาถวายนั้นมากเกินความจำเป็น จึงได้อาราธนาพระสงฆ์จากวัดต่างๆ มารับเครื่องสังฆทานนั้น ประเพณีตักบาตรธูปเทียนมีพิธีกรรมโดย นิมนต์พระสงฆ์จากวัดอื่นๆ ยืนเรียงแถวที่หน้าวิหาร และชาวบ้านจะนำเครื่องสังฆทานพร้อมทั้งดอกไม้ธูปเทียนที่เตรียมมาใส่ในย่ามพระ เมื่อเสร็จแล้วชาวบ้านจะทำการจุดเปรียง (การจุดเปรียงคือ การนำน้ำมันมะพร้าวใส่ในเปลือกหอยพร้อมด้วยด้ายดิบและจุดไฟที่ด้ายเพื่อให้ไฟสว่างไสวไปทั่วทั้งวัด) ตามหน้าพระพุทธรูปและลานเจดีย์ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร “แต่ปัจจุบันประเพณีตักบาตรธูปเทียนได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง เช่น แต่เดิมชาวบ้านจะเตรียมดอกไม้ธูปเทียนมาเอง แต่ปัจจุบันดอกไม้ธูปเทียนจะมีวางขายทั่วไป หรือเมื่อก่อนพระสงฆ์จะเข้าแถวรับบาตรแต่เฉพาะบริเวณหน้าวิหาร แต่ในปัจจุบันได้ขยายพื้นที่ไปถึงหน้าวัด เมื่อครั้งอดีตหลังจากใส่บาตรเรียบร้อยแล้วจะมีการจุดเปรียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาจุดเทียนไขแทน เพราะการจุดเปรียงทำให้เกิดไปไหม้อยู่บ่อยครั้ง” เรามาอนุรักษณ์ประเพณีไทยไม่ให้สูญหายไป
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ
ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ คือ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นโอบฐานเจดีย์พระบรมธาตุเมืองนคร จังหวัดนครศรีธรรมราช สมัยโบราณเรียกประเพณีนี้ว่า “ประเพณีแห่พระบฏขึ้นธาตุ” (ผ้าพระบฏ คือ ผ้าผืนยาวและใหญ่และมีการเขียนรูปพุทธประวัติลงบนฝืนผ้านั้น) มูลเหตุของการเกิดประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า เมื่อราวปี พ.ศ. ๑๗๗๓ ได้มีชาวพุทธจากเมืองอินทปัตแห่งกัมพูชากลุ่มหนึ่งกำลังเดินทางไปเกาะลังกาเพื่อนำผ้าพระบฏไปบูชาพระเขี้ยวแก้ว แต่เกิดเหตุคลื่นซัดเรือแตกทำให้ผ้าพระบฏและชาวพุทธประมาณสิบคนลอยไปติดริมฝั่งที่อำเภอปากพนัง ครั้นพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ผู้ปกครองเมืองนครศรีธรรมราชทราบข่าวจึงได้สั่งให้นำผ้าพระบฏนั้นไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์ เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุและถือเป็นประเพณีแห่พระบฏขึ้นธาตุที่ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชทุกคนจะต้องปฏิบัติในทุกสมัย “ตามประวัติการแห่ผ้าขึ้นธาตุจะทำในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุประจำปี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ากระทำในวันใด ครั้นถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุมีการปฏิบัติ ๒ วัน คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น